Xbox Logo
Xbox Live

โครงสร้างหน่วยงาน
โครงสร้างการบริหารงาน
ฝ่ายบริหาร
ฝ่ายสภา
ฝ่ายประจำ
ผู้บริหารเทศบาล
p64_resize.jpg
แนะนำเทศบาล
หน้าแรก
ประวัติอำเภอ
แผนที่เขตเทศบาล
ความหมายตราสัญลักษณ์
วิสัยทัศน์
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน
ข้อมูลอำเภออากาศอำนวย
ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล
หนังสือราชการจากกรมฯ
สำนักทะเบียนท้องถิ่น
ประวัติศาสตร์ไทโย้ย
ประเพณีการเล่นโย้ยกลองเลง
แบบประเมินความพึงพอใจ*
โครงสร้างการบริหารงาน*
งบแสดงฐานะทางการเงินแยกรายปี
แผนอัตรากำลัง*
ประมวลคุณธรรมจริยธรรม*
งบประมาณรายจ่ายประจำปี*
สถานะทางการคลัง*
แผนพัฒนาเทศบาล*
โครงการเด่น
ระเบียบเทศบาลฯ
แบบประเมินความเครียด
งานบริหารบุคคล
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย
ทำเนียบประธานชุมชน
ประมวลจริยธรรมของข้าราชการ
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
รางวัลทีได้รับ(แยกรายปี)
แผนที่เดินทาง
ติดต่อเทศบาล
สถิติผู้มาศึกษาดูงาน
สมุดเยี่ยม
เครือข่าย อปท.
หน่วยงานในอำเภอ
เทศบาลบนเฟสบุ๊ค
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช
ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
ตราสัญลักษณ์
โครงสร้างเทศบาล(กลาง)
๑ทศวรรษศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
การเสนอร่างเทศบัญญัติ
ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเพณีที่สำคัญ
กิจการสภา
จดหมายข่าว
โครงสร้างการบริหารเทศบาล
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
E-Service
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนทุจริต
ผลคะแนนITA64
รายงานต่างๆ
รายงานการประชุมสภา
รายงานไตรมาส
รายงานการกำกับ
รายงานป้องกันทุจริตรอบ๖เดือน
รายงานป้องกันทุจริตรอบ๑๒เดือน
รายงานสรุปผลจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานข้อมูลประชากร
รายงานผลพัฒนาบุคลากร
รายงานผลคะแนนita๖๔
ระเบียบวาระประชุมสภา
รายงานการรับ-จ่าย
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ระเบียบเครื่องแต่งกาย๒๕๖๓
โครงสร้างหน่วยงาน(O1)
ข้อมูลผู้บริหาร(O2)
วิสัยทัศน์
อำนาจหน้าที่(O3)
คำแถลงนโยบายนายกเทศมนตรี
แผนพัฒนาเทศบาล(O4)
แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน
ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน(O5)
รายงานผลการดำเนินงาน(O12)
การแสดงเจตจำนง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง(O6)
การบริหารงาน
การบริหารเงินงบประมาณ
การส่งเสริมความโปร่งใส
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
ประกาศเจตจำนง
มาตรการภายใน
ยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานผลแผนพัฒนาบุคลากร
แผนพัฒนาพนักงานเทศบาล
มาตรฐานเกี่ยวกับการสอบ
คู่มือการปฏิบัติงาน(O13)
การมีส่วนร่วมผู้บริหาร
คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงาน
พิธีประกาศเจตจำนงสุจริต
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
Facebook เทศบาล
แผนดำเนินงานประจำปี(O10)
เทศบัญญัติ๒๕๖๑
แผนการจัดหาพัสดุ๖๑
เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล
ประกาศเชิญชวนจัดซื้อจัดจ้าง
ประกาศผู้ชนะเสนอราคา
รับฟังความคิดเห็นของประชาชน
รับเรื่องราวร้องทุกข์
สถิติการให้บริการ(O15)
รายงานป้องกันทุจริตรอบ๖เดือน
รายงานป้องกันทุจริตรอบ๑๒เดือน
รายงานงบประจำปี
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง๖๐
การใช้จ่ายงบประมาณปี๖๑
สรุปงบประมาณรอบ๖เดือน
คู่มือสำหรับประชาชน
ขั้นตอนการร้องเรียนร้องทุกข์
สถิติร้องเรียน
แนวทางการจัดการเรื่องร้องเรียน
รายงานผลดำเนินงาน๖๑
การดำเนินงานรอบ๖เดือน
การมีส่วนร่วม
การยื่นรายการเสียภาษี
แผนการจัดเก็บภาษี
Facebookเทศบาล(O9)
งบทดลองประจำเดือน
รายงานเงินสะสม
รายงานไตรมาส
E-service
แนวทางการปฏิบัติราชการ2561
ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
รายงานสรุปผลการใช้จ่าย
รายงานงบประจำปี
หลักเกณฑ์การบริหาร
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
โครงการเสริมสร้างคุณธรรม
แบบสำรวจความพึงพอใจ
คู่มือมาตรฐานการให้บริการ(O14)
ประเมินความเสี่ยงประจำปี
การจัดการความเสี่ยง
การบริหารพัฒนาบุคคล
แผนการใช้จ่ายงบปี๖๒
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม(O33)
การจัดหาพัสดุประจำปี๖๑
มาตรการเผยแพร่ข้อมูล
มาตรการส่งเสริมคุณธรรม
มาตรการการมีส่วนร่วม
มาตรการการใช้ดุลพินิจ
สรุปการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ
รายงานประเมินผลแผนพัฒนา
ยื่นแบบภาษี๖๑
มาตรการป้องกันการรับสินบน
ขอเชิญยื่นชำระภาษีปี๖๒
เอกสารรายงานประจำปี๖๑
แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว
รายงานการประชุมสภา
ความรู้จากการอบรม
ความรู้เกี่ยวกับงานราชพิธี
แผนพัฒนาท้องถิ่น(O4)
ขั้นตอนงานตรวจสอบภายใน๖๓
แผนตรวจสอบภายในประจำปี
เทศบัญญัติ พ.ศ.๒๕๖๔
คำร้องทั่วไป(ระบบออนไลน์)
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียน
ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9
มาตรการการลดความเสี่ยง
Line official(O9)
แผนบริหารจัดการความเสี่ยง๖๓
E-Servive(O17)
รายงานทรัพยากรบุคคล
รายงานประจำปี๖๒
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานผลการติดตาม
รายงานทุจริตรอบ๖เดือนปี๖๒
รายงานทุจริตรอบ๑๒เดือนปี๖๒
สถิติการร้องเรียน๖๓
รางวัลITA
แผนจัดหาพัสดุ๖๓
สขร.ปีงบประมาณ๒๕๖๓
แผนป้องกันการทุจริตปี61- 65
ลานกีฬา
แผนศูนย์เด็ก๖๖-๗๐
รายงานการกำกับ(O11)
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนทุจริต
รายงานประชากร
กิจกรรมกองสวัสดิการ
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประกาศโอนงบประมาณ
วิเคราะห์ประเมินคุณธรรม(O42)
ผลการดำเนินการทุจริตประจำปี(O41)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การลดขั้นตอน64
ผลคะแนนITA64
การจัดบริการสาธารณะ
การสำรวจที่ดิน
รางวัลที่ได้รับปี 2564
กระดานกระทู้
กระดานกระทู้(O8)
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
O20ประกาศต่างๆเกี่ยวกับจัดซื้อจัดจ้าง
O19แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
O21สรุปจัดซื้อจัดจ้าง
รับฟังความคิดเห็นเทศบัญญัติกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ*


 

 

บันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบร่างเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  พ.ศ. ...........

---------------------------------------------------


                                                          หลักการ


ให้มีการยกร่างเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย  เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ







เหตุผล

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หลักเกณฑ์ และวิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการ  การขอรับใบอนุญาต การขอใบแทนใบอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียม ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ท้องถิ่นในปัจจุบันและเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558    จึงตราเทศบัญญัตินี้ 



 

 

 

 

 

 

 

 


 





 

 

เทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

เรื่อง  การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  พ.ศ. ..........

-----------------------------------------------


                   โดยที่เป็นการสมควรตราเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. .............


                   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา 32 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 63 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม  เทศบาลตำบลอากาศอำนวยโดยความเห็นชอบของสภาเทศบาลตำบลอากาศอำนวยและผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครจึงตราเทศบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้


                   ข้อ 1 เทศบัญญัตินี้เรียกว่า "เทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ............. "


                   ข้อ 2 เทศบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตเทศบาลตำบลอากาศอำนวย  ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ที่สำนักงานเทศบาลตำบลอากาศอำนวยแล้วเจ็ดวัน


                   ข้อ 3  ให้ยกเลิกเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ   พ.ศ. 2554

บรรดาเทศบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในเทศบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับเทศบัญญัตินี้ ให้ใช้เทศบัญญัตินี้แทน


                   ข้อ 4 ในเทศบัญญัตินี้

                             "สถานประกอบกิจการ" หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา 31  แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข   พ.ศ. 2535

                             "ผู้ดำเนินกิจการ" หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น

                             "คนงาน" หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ

                             "มลพิษทางเสียง" หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "มลพิษทางอากาศ" หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "มลพิษความสั่นสะเทือน" หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "มลพิษทางน้ำ"หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "มลพิษทางแสง" หมายความว่า สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "มลพิษทางความร้อน" หมายความว่า สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "ของเสียอันตราย" หมายความว่า มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มวลสารหรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนสารพิษอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน

                             "วัตถุอันตราย" หมายความว่า วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย

                             "อาคาร" หมายความว่า  ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้

                             "ราชการส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า เทศบาลตำบลอากาศอำนวย

                             "เจ้าพนักงานท้องถิ่น" หมายความว่า นายกเทศมนตรีตำบลอากาศอำนวย

                             "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

                   ข้อ 5 ให้นายกเทศมนตรีตำบลอากาศอำนวย  เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้

 

                                                             หมวด 1

                                                             บททั่วไป


                   ข้อ 6  ให้กิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้  เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

6.1 กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์

(1) การเพาะพันธ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด

                          (2) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดมีลักษณะ

ทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้จะมีการเก็บค่าศึกษาดูกิจการหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม

 6.2  กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์

  (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด

                         (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์

(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป

(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์

(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร

(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์

(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง

6.๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ

(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น

(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด

(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น

(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี้ พาสตา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ

(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์

(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม

(๑๑) การผลิตไอศกรีม

(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ

(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ

(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา

(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ

(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง

(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด

(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด

(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร

(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม

(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ

(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น

(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร

(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร

6.๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา

(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย

(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี

(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ

6.๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร

(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช

(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ

(๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม

(๕) การผลิตยาสูบ

(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช

(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย

(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช

(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด

6.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่

(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่

(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.6 (๑)

(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.6 (๑)

(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.6 (๑)

(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖.6 (๑)

(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่

6.๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล

(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์

(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล

(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล

(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย

(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์

(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่

(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ

(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตซ์

(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า

6.๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ

(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ

(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร

(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย

(๔) การอบไม้

(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป

(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ

(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ

(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน

6.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ

(๑)  การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด

(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ

(๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโกเธค คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๙ (๑)

(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย

(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก

(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม

(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์

(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม

(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

(๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ

(๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ

(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว

6.๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ

(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก

(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์

(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร

(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร

(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร

(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ

(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร

(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ

6.๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา

(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร

(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๑๑ (๒)

(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน

(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม

(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว

(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย

(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว

(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๖ (๕)

6.๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ

(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดส์ หรือสารตัวทำละลาย

(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ

(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก

(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน 6.๗ (๑)

(๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน

(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี

(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์

(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง

(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง

(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง

(๑๕) การผลิตแชลแล็ค หรือสารเคลือบเงา

(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค

(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว

6.๑๓. กิจการอื่น ๆ

(๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร

(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร

(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้

(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า

(๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ

(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา

(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร

(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค

(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง

(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล



หมวด ๒

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติ

เกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ


ส่วนที่  1

สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล


                     ข้อ  7  สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา           สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด

                     ข้อ 8 สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่งคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                     ข้อ 9 สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง และการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                     ข้อ 10 สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะประจำทุกวัน

                     ข้อ 11 สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ดังนี้

(๑)    มีภาชนะบรรจุหรือภารชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ

(๒)   ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๓)  กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 12 สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการและจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใดๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง

ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด

ข้อ 13  สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงหรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคให้ถูกต้องตามหลักวิชาการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด

ข้อ 14  สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร    การปรุงอาหาร หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดตามเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย  รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

ข้อ 15  สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อ  16  สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน  รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่มต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อ 17  สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมต่อการประกอบกิจการนั้นๆ ทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต








                                     ส่วนที่  2

        ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และการป้องกันเหตุรำคาญ


ข้อ  18  สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ข้อ  19  สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 20 สถานประกอบกิจการที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 21 สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัย โดยมีระเบียบป้องกันอันตราย และป้ายคำเตือนหรือคำแนะนำในการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้ การจัดวางหรือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต้องเป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดินและการปฏิบัติงาน และต้องมีการดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา

ข้อ 22  สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 23  สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน  มลพิษทางการสั่นสะเทือน ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น


                                       หมวด 3

                                     ใบออนุญาต


ข้อ 24 เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่เทศบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ  ห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในเทศบัญญัตินี้ก็ได้

ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว







ข้อ  25  ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายเทศบัญญัตินี้ พร้อมกับหลักฐานและเอกสารดังต่อไปนี้

(๑)   สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

(๒)   สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(๓)   หลักฐานอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด

ข้อ 26 เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอ    ลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย

เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดใน            เทศบัญญัตินี้

ข้อ 27 ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว

ข้อ  28 บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามเทศบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตเทศบาลตำบลอากาศอำนวยเท่านั้น

การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต

ข้อ  29 ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ  ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายเทศบัญญัตินี้

การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(๑)   ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต พร้อมหลักฐานการแจ้งความมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย

(๒)      ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย

ข้อ 30 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กฎกระทรวง หรือเทศบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน




ข้อ 31 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต

(๑)  ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก

(๒)  ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข        พ.ศ. 2535

(๓)  ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หรือเทศบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีปลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน

ข้อ 32 คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักที่ทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี

ข้อ 33 ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งพักเพิกถอนใบอนุญาต


หมวด  4

                           ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ


ข้อ 34   ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายเทศบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป

ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน

ข้อ  35  บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามเทศบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของเทศบาลตำบลอากาศอำนวย


หมวด  5

                                  บทกำหนดโทษ


ข้อ  36 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่ปฏิบัติตามเทศบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.  2535






บทเฉพาะกาล


ข้อ 37  ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการใดตามเทศบัญญัติซึ่งถูกยกเลิกโดยเทศบัญญัตินี้อยู่แล้วในวันที่เทศบัญญัตินี้ใช้บังคับ  และกิจการนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ ให้ผู้นั้นประกอบกิจการต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ตามเทศบัญญัตินี้แล้ว แต่เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุและผู้นั้นยังประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไป ผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ก่อนการดำเนินการ

ข้อ  38  ผู้ซึ่งประกอบกิจการใดที่มิได้เป็นกิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ แต่เป็นกิจการที่จะต้องได้รับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้  ให้ยังคงประกอบกิจการต่อไป แต่จะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามเทศบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่เทศบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ



                             ประกาศ  ณ  วันที่......................... 





                                                          (..............................................)

                                                          นายกเทศมนตรีตำบลอากาศอำนวย




            เห็นชอบ





(ลงชื่อ)

             (...................................................)

     ผู้ว่าราชการจังหวัด............................................







หมายเหตุ


โดยที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558 ลงวันที่  3 มิถุนายน  พ.ศ.  2558  แก้ไขและปรับปรุงรายชื่อกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2554  ไม่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าว  เพื่อให้เทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน  เทศบาลตำบลอากาศอำนวยจึงได้ตราเทศบัญญัตินี้ขึ้น


































บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต

ท้ายเทศบัญญัติเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

เรื่อง  การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  พ.ศ. 2560



กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม

1











2

กิจการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

    1 การเพาะพันธ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การอนุบาลสัตว์

1.1  .1 การเพาะพันธ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การอนุบาลสัตว์  

     ไม่เกิน   50 ตัว

1.1.2 การเพาะพันธ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การอนุบาลสัตว์ 

     มากกว่า  50 ตัว

    2. การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้จะมีการเก็บค่าศึกษาดูกิจการหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม


กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์

๑.   การฆ่าหรือชำแหละสัตว์ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร   เร่ขาย หรือขายในตลาด

1.1    การฆ่าสัตว์ขนาดใหญ่ ได้แก่ โค กระบือ สุกร

1.1.1  จำนวนไม่เกิน  1,000 ตัว

1.1.2   จำนวนมากกว่า 1,000 ตัว

      1.2 การฆ่าสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ เป็ด ไก่

             1.2.1  จำนวนไม่เกิน 10,000  ตัว

             1.2.2   จำนวนมากกว่า 10,000 ตัว











100


200


500









500

1,000


200

1,000

กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม












3








2. การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์

3.  การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป

4.  การเคี้ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์.

5.  การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากเปลือก

กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่นๆของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใดๆซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร

6.  การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์

7. การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง


กิจการที่เกี่ยวกับอาหารเครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน

1.การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม  หรือซอสปรุงรสชนิดต่างๆ

๒. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

๓. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น

๔. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด

๕. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น

๖. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

๗. การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี้ พาสตา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน



2,000

1,000

1,000

500



500



500





50


50




50


50



50

50



50




กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม



























4

๘. การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ

๙. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์

๑๐. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม

๑๑. การผลิตไอศกรีม

๑๒. การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ

๑๓. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ

๑๔. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอททิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา

๑๕. การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ

๑๖. การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง

๑๗. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด

๑๘. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด

๑๙. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร

๒๐. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม

๒๑. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ

๒๒. การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น

๒๓. การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร

๒๔. การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร


กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

๑. การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา

๒. การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย

๓. การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี

๔. การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

๕. การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ


300

500


500


300

500

500


500


200

500

500



1,000


2,000

1,000

300

500


1,000

2,000




3,000

8,000


5,000

8,000

8,000



กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม

5














6














7






กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร

๑. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช

๒. การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ

๓. การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

๔. การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม

๕. การผลิตยาสูบ

๖. การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช

๗. การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย

๘. การผลิตเส้นใยจากพืช

๙. การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด


กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่

๑. การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่

๒. การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)

๓. การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน    ๖ (๑)

๔. การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)

๕. การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)

๖. การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่


กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล

๑. การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์

๒. การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล

๓. การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล


1,000

1,000

1,000


300


1,000

500

500

500

1,000




5,000


3,000


300



1,000

.

5,000


5,000



300

3,000

300

กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม











8













9












๔. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย

๕. การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์

๖. การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่

๗. การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ

๘. การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตซ์

๙. การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า


กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ

๑. การผลิตไม้ขีดไฟ

๒. การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร

๓. การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย

๔. การอบไม้

๕. การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป

๖. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ

๗. การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ

๘. การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน


กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ

๑. การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๒. การประกอบกิจการอาบ อบ นวด

๓. การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๔. การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๕. การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

500



500

300

300

300

300




1,000

500


300


500

1,000

500


500

300



200

1,000


200



200



500



กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม



























10

๖. การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

๗. การประกอบกิจการโรงมหรสพ

๘.การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองแง็ง ดิสโกเธค คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

๙. การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)

๑๐. การประกอบกิจการการเล่นสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

๑๑. การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

๑๒. การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย

๑๓. การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก

๑๔. การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม

๑๕. การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์

๑๖. การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ

๑๗.การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม

๑๘.การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

๑๙.การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ

๒๐. การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ

๒๑. การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว


กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ

๑. การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก

๒. การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์

๓. การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร

๔. การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร

๕. การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร

๖. การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ

๗. การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร

๘. การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ

200


1,000

500


1,000


1,000


200


500

500

500

300

1,000

1,000


1,000


300


300

500




500

300

500

1,000

1,000

200

200

200



กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม

11




















12








กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๑. การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา

๒. การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหิน ด้วยเครื่องจักร

๓. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๔. การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อย ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)

๕. การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๖. การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

๗. การผลิตชอล์ก ปูนปาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน

๘. การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม

๙. การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว

๑๐. การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย

๑๑. การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว

๑๒. การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)


กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ

๑. การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดส์ หรือสารตัวทำละลาย

๒. การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ

๓. การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

๔. การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก

๕. การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑)

๖. การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๗. การโม่ สะสม หรือบดชัน

๘. การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี

๙. การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์


500

1,000

200


1,000



500

500


500

2,000


2,000

2,000

2,000

1,000





500


300

1,000


1,000

500

300


200

1,000

500

กลุ่ม

ประเภทกิจการ

อัตรา

ค่าธรรมเนียม












13


















๑๐. การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๑๑. การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๑๒. การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง

๑๓. การผลิตน้ำแข็งแห้ง

๑๔. การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง

๑๕. การผลิตแชลแล็ค หรือสารเคลือบเงา

๑๖. การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค

๑๗. การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว


กิจการอื่น ๆ

๑. การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร

๒.การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

๓. การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง

๔. การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร

๕. การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้

๖. การประกอบกิจการโกดังสินค้า

๗. การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่

๘. การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ

๙. การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา

๑๐. การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร

๑๑. การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค

๑๒. การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง

๑๓. การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล


500


1,000

1,000

1,000

1,000


2,000

1,000

2,000



500

300


500

300

500

500

500


500

500

1,000

500


1,000

200








คำขอเลขที่....../..........



                                           แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต

                             ประกอบกิจการ..............................................................


เขียนที่...................................................

วันที่..............เดือน................................ พ.ศ......................


1.      ข้าพเจ้า............................................................อายุ...............ปี  สัญชาติ.........................

โดย........................................................................................................................................ผู้มีอำนาจลงนาม.

แทนนิติบุคคลปรากฏตาม.................................................................................................................................

ที่อยู่เลขที่.............................หมู่ที่.............. ตรอก/ซอย..........................................ถนน...................................

แขวง/ตำบล..............................................เขต/อำเภอ...........................................จังหวัด..................................

หมายเลขโทรศัพท์.......................................................ผู้ขออนุญาต


2.      พร้อมคำขอนี้ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารหลักฐานต่างๆมาด้วยแล้วดังนี้

       สำเนาบัตรประจำตัว(ประชาชน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่นๆ ระบุ.................)

       สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวของ ได้แก่..............................................................

.................................................................................................................................................

       หนังสือให้ความเห็นชอบการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

       ใบมอบอำนาจ(ในกรณีเป็นนิติบุคคล)

       สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

        หลักฐานที่แสดงการเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล

        เอกสารหลักฐานอื่นๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนด คือ

        1)....................................................................................................................................

        2)...................................................................................................................................

ขอรับรองว่าข้อความในคำขอนี้เป็นความจริงทุกประการ




                                           ลงชื่อ.........................................ผู้ขออนุญาต

                                                     (.......................................)








ส่วนของเจ้าหน้าที่

ใบรับคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต


เลขที่............................ได้รับเรื่องเมื่อวันที่...................เดือน.....................................พ.ศ. ...........................

ตรวจสอบแล้ว เอกสารหลักฐาน                 ครบ

                                                       ไม่ครบ  คือ        

                                                    1)..............................................................................................

                                                    2).............................................................................................

                                                    3).............................................................................................



                                                    ลงชื่อ.................................................

                                                          (.................................................)              

                        ตำแหน่ง.........................................................






                                                ส่วนของผู้ขอรับใบอนุญาต

                                      ใบรับคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต


เลขที่......................ได้รับเรื่องเมื่อวันที่..................เดือน........................................พ.ศ. .............................

ตรวจสอบแล้ว เอกสารหลักฐาน                 ครบ

                                                       ไม่ครบ  คือ        

                                                    1)..............................................................................................

                                                    2).............................................................................................

                                                    3).............................................................................................


ดังนั้น  กรุณานำเอกสารหลักฐานที่ยังไม่ครบทั้งหมดมายื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน...........วันนับตั้งแต่วันนี้



                                                    ลงชื่อ.................................................

                                                          (.................................................)              

                        ตำแหน่ง.........................................................





 







 


ความคิดเห็นผู้ใช้
Your Name / Email Address

Who's Online
ขณะนี้มี 13 บุคคลทั่วไปออนไลน์
เทศบัญญ้ติงบประมาณรายจ่าย
เทศบัญญัติ ๖๗
เทศบัญญัติ ๖๖
เทศบัญญัติ ๖๕
เทศบัญญัติ ๖๔
รวมเทศบัญญัติของเทศบาล
แผนต่างๆของเทศบาล
รวมทุกแผนของเทศบาล
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
แผนป้องกันการทุจริต
แผนดำเนินงานเทศบาล
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนการตรวจสอบภายใน
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนศูนย์เด็ก๖๖-๗๐
ส่วนราชการในสังกัด
โครงสร้างรวม
คณะผู้บริหาร
สภาเทศบาล
ปลัดเทศบาล
รองปลัดเทศบาล
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดเทศบาล
กองการศึกษา
กองช่าง
กองคลัง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กองยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์
กองสวัสดิการสังคม
โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์เด็กวัดทุ่ง
สถานศึกษาในสังกัด
ศูนย์เด็กวัดทุ่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โรงเรียนเทศบาลอากาศอำนวย
ประกาศประชาสัมพันธ์
ประกาศโอนงบ
ประกาศเชิญชวนการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนดำเนินงาน
ผลประเมินLPA๖๑
ประกาศผู้ชนะเสนอราคา
สรุปการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนจัดหาพัสดุ
เทศบัญญัติ พ.ศ.๒๕๖๔
รวมเทศบัญญัติ
โครงสร้างหน่วยงาน(O1)
ข้อมูลผู้บริหาร(O2)
อำนาจหน้าที่(O3)
แผนพัฒนาเทศบาล(O4)
ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน(O5)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง(O6)
ข่าวสารประชาสัมพันธ์(O7)
เว็บบอร์ด(O8)
เลือกตั้งท้องถิ่น ๖๔(O8)
การรับฟังความคิดเห็น(O8)
Line official(O9)
Facebookเทศบาล(O9)
แผนดำเนินงานประจำปี(O10)
รายงานการกำกับ(O11)
รายงานผลการดำเนินงาน(O12)
คู่มือการปฏิบัติงาน(O13)
คู่มือมาตรฐานการให้บริการ(O14)
สถิติการให้บริการ(O15)
ผลประเมินความพึงพอใจ(O16)
E-Service(O17)
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ(O18)
งบประมาณรอบ6เดือน(O19)
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ(O20)
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง(O21)
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง(O22)
ประกาศผลผู้ชนะ(O22)
สรุปผลจัดซื้อจัดจ้าง(O23)
รายงานผลจัดซื้อจัดจ้าง(O24)
แผนอัตรากำลัง(O25)
นโยบายบริหารงานบุคคล(O26)
หลักเกณฑ์การบริหารบุคคล(O27)
รายงานผลพัฒนาบุคลากร(O28)
การจัดการเรื่องร้องเรียน(O29)
ร้องเรียนทุจริต(O30)
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น(O32*)
ข้อมูลร้องเรียน(O31)
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น(O32)
การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม2(O33)
การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม(O33)
(O31)นโยบายไม่รับของขวัญ
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร(O35)
ความเสี่ยงการทุจริตประจำปี(O36)
จัดการความเสี่ยง(O37)
วัฒนธรรมองค์กร(O38)
แผนป้องกันทุจริต(O39)
รายงานกำกับรอบ๖เดือน(O40)
ผลการดำเนินการทุจริต(O41)
การวิเคราะห์ผลการประเมิน(O42)
มาตรการส่งเสริมคุณธรรม(O43)
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น
E-Servive(O-17)
กระดานกระทู้(O8)
แมสเซนเจอร์
รายงานการเงิน2564
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การดำเนินการตามมาตรการ(O43)
แบบสำรวจความพึงพอใจ66
O40การขับเคลื่อนจริยธรรม
O30การมีส่วนร่วม
O20ประกาศต่างๆเกี่ยวกับจัดซื้อจัดจ้าง
O19แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
O21สรุปจัดซื้อจัดจ้าง
O28ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียน
O13รายงานผลการติดตาม

 

รร.เทศบาลอากาศอำนวย
กองทุนหลักประกันสุขภาพ
แนะนำบุคคลากร
จำนวนผู้มาเยี่ยมชม
ผู้มาเยี่ยมชม 1812172 คน
เข้าชมมากที่สุด
เอกสารเผยแพร่
ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติงาน
คำร้องทั่วไป ( ระบบออนไลน์ )
หนังสือราชการ สถ.
เทศบัญญัติปี2560
แผนสี่ปี
งบแสดงฐานะทางการเงิน60
ข้อมูลกรรมการหมู่บ้าน
บัญชีสรุปโครงการ
มติประชุมกทจ.สกลนคร
จดหมายข่าวเทศบาล
บัญชีจัดตำแหน่งข้าราชการ
การควบคุมกิจการ
การยื่นรายการเสียภาษีปี60
การยื่นรายการเสียภาษีปี59
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง(O21)
การมอบอำนาจ*
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว*
รับฟังความคิดเห็นเทศบัญญัติ*
ประกาศเจตจำนงสุจริต
วารสารรายงานประจำปี2559
ปฏิบัติงานผลประโยชน์ทับซ้อน
สรุปการจัดซื้อจัดจ้าง
องค์ความรู้ในองค์กร
คู่มือการปฏิบัติงานเบี้ยยังชีพ
แผนการตรวจสอบภายใน
ช่องทางร้องเรียนร้องทุกข์
รายงานสรุปผลรับเรื่องร้องเรียน
ขั้นตอนการร้องเรียนร้องทุกข์
กองทุนหลักประกันสุขภาพ*
ประกาศจัดตั้งเทศบาล*
ศูนย์ดำรงธรรม*
ศูนย์ดูแลเด็กและผู้พิการ*
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช*
สภาวัฒนธรรมอำเภอ*
รวมเทศบัญญัติ
งานนโยบายและแผน
ผลิตผลแห่งความสำเร็จ
rrr.gif